วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Workshop 1

ระบบ ERP หรือ Enterprise Planning
คือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น หากเป็น ERP ของบริษัทจะหมายรวมตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรของบริษัทนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอน (Algorithmการทำงานได้อีกด้วย

        
     ERP มีการทำงานแบบ Real time และ การไหลของข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นี้เอง การไหลของข้อมูลจึงสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงาน ได้ทันที มีผลสำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การดึงข้อมูลของแผนกต่างๆ จะทำได้ไม่ล่าช้า ข้อมูลจะอัพเดทเป็นปัจจุบันมากที่สุดทำให้สามารถทำการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

อีกทั้ง ERP ยังเป็นเครื่องมือสำหรับพยากรณ์การดำเนินงาน การลงทุน หรือการจัดการบริหารงานด้านต่างๆ ทำให้ผู้บริหารสามารถกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น หรือวางแผนการดำเนินการล่วงหน้าได้ เพื่อป้องกันปัญหาหรือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การใช้ระบบ ERP ทำให้การทำงานเป็นในระบบแบบแผนและมาตรฐานเดียวกัน สร้างผลดีให้กับองค์กร
   บทบาทของ ERP

ERP ก็ คือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในเชิงบริหารที่เกิดขึ้นดังกล่าวอีกทั้งจะช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและ บริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    



ตัวอย่างโปรแกรมบัญชี Smile Account
          โปรแกรมบัญชี Smile Account นอกจากจะเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับบริหารงานบัญชีครบวงจรแล้ว ยังมีระบบนำเสนอข้อมูล (MIS) เพื่อการตัดสินใจในทุกระบบงานทุกหน้าจอ โดยผู้ใช้งานสามารถกดปุ่ม เพื่อตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลวิเคราะห์ต่างๆของตนเองได้ทันทีที่ต้องการ    
         ระบบย่อยของโปรแกรมประกอบไปด้วย
-         ระบบจัดซื้อ  (PO)
-          ระบบบัญชีเจ้าหนี้  (AP)
-         ระบบเงินสดย่อย  (PC)
-         ระบบเงินทดรอง  (AD) 
-         ระบบคลังสินค้า  (IC)
-         ระบบเช็คและธนาคาร  (CQ)
-           ระบบการเงิน  (FM)
-          ระบบงบประมาณ  (BG)
-         ระบบบัญชี  (GL) 
-          ระบบภาษี  (VT) 
-         ระบบขาย  (SO) 
-         ระบบคอมมิชชั่น  (CM)
-         ระบบบัญชีลูกหนี้  (AR)
-         ระบบผ่อนชำระ  (PR)
-         ระบบซีเรียล (SR) 
-         ระบบเคลมประกัน (IS)
-         ระบบรีเบส (RB)
                                  
รูปหน้าจอตัวอย่าง
การใช้งานโปรแกรมบัญชีแบบออนไลน์ระหว่างสาขา
            ด้วยความต้องการของลูกค้าที่ต้องการให้ข้อมูลจากทั้งสองฝั่งทั้งจากสำนักงานขายและคลังสินค้าหรือโรงงานให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อลดปัญหาในการตรวจสอบสินค้าคงคลัง การเปิดหน้าบิลที่ไม่รู้สต็อกโรงงาน การเปิด Order ให้ลูกค้าที่วางแผนกำหนดส่งได้ไม่ชัดเจนเป็นต้น โปรแกรมบัญชี Smile Account จึงถูกพัฒนาความสามารถในด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องความรวดเร็ว ปลอดภัย ทันสมัย และออนไลน์ได้ด้วยโปรแกรมเองไม่ผ่าน tools หรือเครื่องมืออย่างอื่น 
                ความปลอดภัยของข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญดูโปรแกรมบัญชีใหม่อย่าลืมสอบถามถึงความปลอดภัยของฐานข้อมูลของโปรแกรมด้วยนะค่ะสำคัญมากๆๆ ค่ะ
               ป้องกันการเข้าสู่ฐานข้อมูลได้โดยตรง โดยการกำหนดรหัสผู้ใช้งานของโปรแกรม ออกจากรหัสผู้ใช้ฐานข้อมูล จึงทำให้ผู้ใช้งานรู้จัก User ID และ Password เฉพาะของโปรแกรมเท่านั้น ไม่รู้ User ID และ Password ที่เข้าฐานข้อมูล ดังนั้นจึงเป็นการป้องกันไม่ให้ User นำโปรแกรมอื่นๆมา connect เข้าฐานข้อมูลได้โดยตรง ทำให้ข้อมูล เช่นราคาขาย ข้อมูลทางด้านบัญชี และข้อมูลอื่นๆมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น  

ข้อมูลจาก http://www.mindphp.com


ระบบ MRP หรือ Material Requirement Planning
     
           วิธี MRP เป็นเทคนิคในการจัดการ ที่สามารถหารายการวัสดุที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ตามแผนการผลิตหลักที่ได้วางไว้ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย สามารถสร้างใบรายการวัสดุ (bill of material)ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถบอกชนิดของวัสดุ จำนวนที่ต้องการ และเวลาที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ
            MRP ย่อมาจาก Material Requirements Planning แปลเป็นไทยว่า การวางแผนความต้องการวัสดุ เป็นซอฟแวร์เพื่อการวางแผนการผลิตและควบคุมคงคลัง เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ 3 ประการ คือ
     1.ให้แน่ใจว่าวัสดุและผลิตภัณฑ์มีเพียงพอสำหรับการผลิตและส่งมอบให้แก่ลูกค้า
     2.เพื่อรักษาคงคลังให้อยู่ในระดับต่ำสุดเท่าที่จะทำได้
     3.เพื่อใช้วางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงงานทำตารางการส่งมอบและจัดซื้อ

ขอบเขตของ MRP ในการผลิต

ถ้าบริษัทจัดซื้อในปริมาณที่ไม่เพียงพอสำหรับการผลิต หรือซื้อผิดประเภท ก็อาจจะไม่สามารถผลิตได้ทันเวลาที่ลูกค้าต้องการ
ถ้าบริษัทซื้อปริมาณมากเกินไป เงินก็จะจมอยู่กับคงคลัง และอาจจะไม่ได้ถูกใช้งานอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การซื้อบางอย่างอาจจะไม่สามารถซื้อในปริมาณที่น้อยที่สุดที่เราต้องการได้ ดังนั้น การซื้อเกินกว่าการใช้งานจริงก็อาจจะจำเป็น การผลิตงานที่ผิดจากคำสั่งซื้อก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พลาดการส่งมอบให้กับลูกค้าได้เช่นกัน

ตัวอย่างโปรแกรมวางแผนการผลิต Impress Planning





              โปรแกรมวางแผนผลิต Impress Production Planning เป็นระบบที่ช่วยในการวางแผนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตสินค้าประเภทต่างๆ เช่น อาหาร อิเลคทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องหนัง  พลาสติก เป็นต้น โดยระบบจะคำนวณหาปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการผลิตแต่ละครั้ง เช่น วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน เพื่อกำหนดตารางการผลิตที่เหมาะสม ทั้งยังเป็นการช่วยฝ่ายขายตอบคำถามสำหรับลูกค้าที่เป็นลักษณะจ้างทำ (By Order) ว่าถ้าสั่งซื้อแล้ว จะสามารถส่งมอบสินค้าได้เมื่อไร


รายละเอียดโปรแกรมวางแผนการผลิต
·         รองรับการผลิตตามสั่งในลักษณะ
o   รับจ้างผลิต  ( Make to Order )
o   ผลิตเพื่อเก็บเข้าสต็อก ( Make to Stock )
·         คำนวณความต้องการใช้วัตถุดิบ(Material Requirement Planning) โดยตรวจสอบวัตถุดิบที่มีอยู่ในคลังสินค้า หากไม่พอโปรแกรมจะสร้างใบขอซื้อให้อัตโนมัติ
·         การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning) สามารถบริหาร Shop Floor ได้
·         BOM (Bill of Material) ทำได้หลายระดับ และไม่จำกัดชั้น (Multi-level)
·         กำหนดกำลังการผลิต-เครื่องจักรของแต่ละกลุ่มงานผลิต
·         กำหนดสูตรปัจจัยการผลิตภายใต้กิจกรรม ต่อปริมาณผลผลิต 1 สูตร
·         กำหนดสูตรเวลา-เครื่องจักรภายใต้กิจกรรม ต่อปริมาณผลผลิต 1 สูตร
·         รองรับการผลิตสินค้าที่มี Joint Product
·         กำหนดสายการผลิตของสินค้าสำเร็จรูปว่าผ่านกลุ่มงานผลิตใดบ้าง
·         ตรวจสอบแผนการใช้เครื่องจักร-ของแต่ละกลุ่มงานผลิต
·         ตรวจสอบกำลังการผลิตคงเหลือ-ของแต่ละกลุ่มงานผลิต
·         สามารถตอบคำถามลูกค้าหรือฝ่ายขายได้ว่า Order แต่ละ Order สามารถผลิตเสร็จเมื่อไร โดยคำนวณจาก Capacity ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
·         สามารถวางแผนการผลิตตาม Order ของลูกค้า(Made To Order) หรือเพื่อ Stock (Made To Stock)ได้
·         สามารถสร้างตารางการผลิตเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปีได้
·         ตรวจสอบสถานภาพ Order ของลูกค้าแต่ละราย (ปริมาณ Order, สั่งผลิตเมื่อ,ผลิตจริงเมื่อ,นำส่งคลังปริมาณ, %นำส่ง)
·         ตรวจสอบสภาพสินค้าระหว่างผลิต (ผลผลิต) ตาม Order (ติดตามงานได้ว่าสินค้าระหว่างผลิตแต่ละขั้นตอนเสร็จไปแล้วเท่าไร ค้างอยู่ในกลุ่มงานผลิตใดบ้าง เสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูปนำส่งคลังไปแล้วกี่ %)
·         ประเมินผลการปฏิบัติงานแต่ละ Order
 ข้อมูลจาก    http://j-knowledge.blogspot.com
                        http://onlineacc.net/archives/144
                        http://www.baanjomyut.com


SCM หรือ Supply Chain Management


              SCM หรือ Supply Chain Management คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้า ในการปรับตัวขององค์การเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ เพื่อให้องค์การมี ความสามารถในการบริหาร ความเติบโตของธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ 


กำหนดกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง การบริหารในปัจจุบันและอนาคตนั้นองค์การจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 

การทำกำไรในปัจจุบันทำได้ยากขึ้น ในอนาคตองค์การอาจต้องมีการจัดการผลกำไรอย่างเจาะจงตามประเภทลูกค้า และสินค้า และมองหาโอกาสในการสร้างกำไรในอนาคตระยะยาว

ผู้นำองค์การในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการสร้างพันธมิตร ในอนาคตการพัฒนาองค์การจะเป็นไปในลักษณะของการสร้างเครือข่าย (Networking Organization)

การทำงานของบุคลากรจะเน้นการทำงานได้หลากหลาย ทำงานข้ามวัฒนธรรม และได้รับค่าตอบแทนตามผลงาน และให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของร่วม

ช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงและเปิดโอกาสทางธุรกิจ ช่องทางดั้งเดิมกำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อรักษาสภาพทางการตลาด มีการกำหนดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และช่องทางใหม่มีการรวบรวมคนกลางและกำหนดการลงทุนธุรกิจใหม่

การมีช่องทางมากขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์ การมีลูกค้าที่หลากหลาย จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น เหล่านี้ทำให้การบริหารองค์การทำได้ยากขึ้น ทำให้องค์การเข้าสู่การเป็นองค์การขยาย และเน้นการตอบสนองลูกค้าเป็นราย ๆ

มีการใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)

การประเมินผล และการนำทิศทางองค์การ มุ่งเน้นมูลค่าของหุ้นและมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ

เน้นหนักสินค้าบริการเฉพาะตัว และให้ความสำคัญกับราคามากขึ้น ลูกค้ามีความคาดหวังต่อบริการมากขึ้น

คุณภาพถือเป็นสิ่งบังคับที่ต้องมีอยู่แล้วลูกค้าไม่ต้องการสินค้าหลากหลายแต่ต้องการสินค้าที่เหมาะกับตน องค์การจะต้องเน้นการทำตลาดเจาะจงโดยใช้แหล่งวัตถุดิบร่วมกัน รวมทั้งเน้นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น

การตลาดมุ่งเน้นลูกค้าแต่ละราย

การบริหารเน้นการสร้างพันธมิตรมากขึ้น 

ตัวอย่างโปรแกรม  SCM : Service Center Management 

                 เป็นโปรแกรมระบบรบริหารงานศูนย์บริการที่บริษัทโปรซอฟท์ พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับธุรกิจ บริการต่าง ๆ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานโดยครอบคลุมระบบงานไว้อย่างครบถ้วน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้
 Service Center Management 
ลูกประทับใจในการบริการที่มีประสิทธิภาพ 
ลูกค้าได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว ฉับไว
 : ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพทั้งสินค้า และบริการต่าง ๆ จากบริษัท 
 : บริษัทมีภาพพจน์ที่ดีขึ้น 
 : บริษัทมีกำไรมากขึ้น จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 
 : การติดต่อประสานงานภายในหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัทมีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
 : ผู้บริหารสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานได้เป็นอย่างดี 

คุณสมบัติและความสามารถของโปรแกรม Service Center Management
ประกอบไปด้วย 
               1.  ระบบคลังอะไหล่ (Spare parts)
                2.  ระบบสัญญาบริการและการบริการ 
                3. ระบบงานซ่อม 

                               http://www.programbunchee.com/scm.htm


TPS หรือ Transaction Processing Systems

เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงาน  ประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ




วัตถุประสงค์ ของ TPR

1.   มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงาน
2.   เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว 
3.   เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและ รักษาความลับได้ 
4. เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS

หน้าที่ของ TPS 
1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2. การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ 
3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น 
4. การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น
5. การเก็บ (Storage)  การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย

กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ 

1. Batch processing
การประมวลผลเป็นชุดโดย การรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)

2. Online processing
คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผล และทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง

3. Hybrid systems
เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดย อาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันที แต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)


ตัวอย่างโปรแกรม TPS-Server : Pascal / Delphi WebScript Server

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะเขียน Web ด้วยภาษา Pascal / Delphi TPS (Thai Pascal Script) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสำหรับการเขียน Web โดยใช้ภาษา Pascal / Delphi การเรียกใช้ Function และ Class ต่างๆใน TPS จะสามารถใช้งานได้เหมือนกับ Delphi 90% การเขียนโปรแกรมจะคล้ายกับ PHP หรือ ASP คิดว่าVersion นี้สมบูรณ์เกือบ 100% ครับ ลองมาดูความสามารถหลักๆ ของ TPS 1.0




Program Feature :


 1. ใช้ได้ Free 100% ทำงานบน Windows , ใช้ร่วมกับ WebServer ได้ทุกยี่ห้อ โดยเฉพาะ IIS และ Apache 2. รูปแบบภาษา Server - Side HTML Embedded Scripting with Pascal Syntax 
3. การแสดงข้อความใช้คำสั่ง Send , Sendln หรือ Echo 
4. รับข้อมูลจาก Form , Query และ Cookies สนับสนุนตัวแปร Sessions
 5. Database สามารถใช้ ADO หรือ BDE ก็ได้ โดยการใช้ TTable , TQuery , TAdoCursor 
6. File Upload ก็ปรับปรุงใหม่ 
7. ปรับปรุง protocol การเชื่อมระหว่าง Webserver กับ Tpsserver เพื่อเพิ่มความเร็ว 
8. มีระบบ Compiled Cached คือหน้า WEB ที่เขียนจะไม่ต้อง Compile ใหม่ถ้าไม่มีการแก้ไข TPS Server จะ Compile เฉพาะไฟล์ที่ถูกแก้ไข ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก
 9. ปรับปรุงภาษา Syntax และ การทำงานของ Compiler 
10. เพิ่มคำสั่งในการสร้าง Gif Animation 
11. เพิ่มระบบ Remote Debuger 
12. เพิ่ม Document (ตรงนี้แหละครับเหนื่อยที่สุด) Function และ Class รวมกัน ไม่ต่ำกว่า 2000 function ใน DOC ก็อาจจะยังไม่สมบูรณ์ครับ ส่วนตัวอย่างการใช้ทางผู้พัฒนาก็พยายามปรับปรุง เพิ่มตัวอย่างใหม่ ๆ เข้าไปเรื่อยๆ ตามที่จะมีเวลา 
13. และอื่นๆ อีกมากมาย คนที่ถนัด PHP กับ ASP 


DSS หรือ Decision support system



DSS (Decision support system) คือ กลุ่มของเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ ที่มีความสัมพันธ์กันดี ติดต่อกับผู้ใช้แบบง่ายๆ การรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้กับแบบจำลองหลายๆแบบ แบบจำลองเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ เพื่อแก้ปัญหาแบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้าง

ส่วนประกอบของ DSS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สำคัญ  คือ
1.  ระบบฐานข้อมูล  ( DSS  Database )
2. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์การตัดสินใจ ( DSS Software  System )
3. เครื่องมือสนับสนุนการทำงานของระบบ ( DSS Support  Tool )



ชนิดของระบบ  DSS
        Model – driven DSS   ได้แก่  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เป็นระบบเดี่ยวที่ถูกพัฒนาโดยผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
        Data - driven DSS   ได้แก่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่นำฐานข้อมูลขององค์กร  ระบบที่นิยมใช้กัน  ได้แก่- ระบบ On – line  Analytical  Processing    (OLAP)





หน้าที่ของระบบ DSS


มีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1 การสร้างแบบจำลอง เช่น การพยากรณ์ยอดขาย
2 การวิเคราะห์แบบ What-If Analysis เช่น การวิเคราะห์ 
   วิธีนี้เป็นกึ่งมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง
3 การวิเคราะห์แบบ Goal Seeking เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดผลลัพธ์
4 การวิเคราะห์แบบ Risk Analysis เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ
5 การวิเคราะห์แบบ Graphical Analysis คือการวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์


ตัวอย่างโปรแกรม

DSS LOTTO (โปรแกรม วิเคราะห์หวย หลัก วิทยาศาสตร์ และสถิติ



            โปรแกรมนี้ เป็นโปรแกรม วิเคราะห์หวย ของการออกสลากกินแบ่งของรัฐบาล โดยใช้หลักการของวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงในเรื่องของสถิติต่างๆ โดยสถิติที่เก็บเอาไว้ ได้บันทึกสถิติย้อนหลังเอาไว้เป็นสิบๆ ซึ่งถือได้ว่ายิ่งเรามีข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูงเท่านั้นละครับ

Program Features (คุณสมบัติของโปรแกรม)

1. สามารถ บันทึกผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล

2. มีสถิติเก็บรวบรวม เลขรางวัลตั้งแต่งวด วันที่ 16 มกราคม 2538 จนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2553
รวมทั้งหมด 364 งวด

3. คุณสามารถสร้างและตรวจสอบสูตรได้ไม่จำกัดจำนวน

4. มีการตรวจสอบสูตรย้อนหลังได้ตามจำนวนงวดที่ต้องการ

5. ลักษณะการใช้งานใช้ เมาส์คลิ๊ก เลือกได้เลย

6. สูตรประกอบด้วยสถิติดับเด่น หลักร้อย หลักสิบ หลักหน่วย หลักสิบหน่วยล่าง
ซึ่งมีมากถึง 100,000 กว่า สูตร

7. มีระบบวิเคราะห์สูตร ดับ/เด่นรายสูตรเพื่อดูสถิติและเลือกด้วยตัวท่านเอง

8. มีระบบสรุปสูตรห์เพื่อหาเปอร์เซ็นต์เลขดับที่ไม่น่าออกโดยอัตโนมัติและ
สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้มากกว่า 300 งวด

9. มีระบบคัดแยกสูตรเช่น สูตรที่ผิดทั้งหมดในงวดที่ผ่านมาและสูตรที่ไม่เคยผิดเลยในจำนวนงวดที่เลือก

ข้อมูลจาก http://software.thaiware.com/10487-DSS_LOTTO


MIS หรือ Management Information System
           ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบ MIS ต้องให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง 
            แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบ MIS สูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบ MIS แล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบ MIS จะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุผิดปกติ


ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System : MIS 

             เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงานขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับ
การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง 
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัติและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง 
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฏิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน 
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล 
     





        ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
             ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS) 
             ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS) 
             ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) 
             ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS) 



ตัวอย่างโปรแกรม โปรแกรมมอนิเตอร์สำหรับผู้บริหาร MIS Business Intelligence (BI-Online)


Business Intelligence คือ ซอฟต์แวร์ (Software)
 ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์  และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน  และใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล  ของงานในมุมมองต่างๆ   ตามแต่ละแผนก  เช่น
• วิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสำหรับผู้บริหาร
• วิเคราะห์และวางแผนการขาย / การตลาด เพื่อประเมินช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ
• วิเคราะห์สินค้าที่ทำกำไร สูงสุด / ขาดทุนต่ำสุด เพื่อการวางแผนงานด้านการตลาด และการผลิต
• วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อยอดขายของสินค้า ฯลฯ
• วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ฯลฯ

Business Intelligence จะประกอบไปด้วยระบบข้อมูล และโปรแกรมแอพพลิเคชั่น ด้านการวิเคราะห์ 
มากมายหลายระบบ เช่น
• ดาต้าแวร์เฮ้าส์ (Data Warehouse)
• ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
• การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
• การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Operations Research & Numerical Methods)
• เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ (OLAP) แบบประมวลผลทันทีที่ป้อนข้อมูลเข้าไป
• และ ระบบสืบค้นและออกรายงานต่างๆ (Search, Report)
Business Intelligence ยังมีจุดเด่นเพิ่มขึ้นอีกในด้าน
• ใช้งานง่ายเพียงแค่คลิกเมาส์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรายงานได้โดยไม่ต้องมีการคีย์ข้อมูลใหม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถถาม ตอบคำถามทางธุรกิจได้หลายมุมมองเพียงในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งช่วยการตัดสินใจแม่นยำ และรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ทั้งในเชิงกว้าง และเชิงลึก
• สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทำการวิเคราะห์ เช่น Excel, FoxPro, Dbase, Access, ORACLE, SQL Server, Informix, Progress, DB2 เป็นต้น โดยไม่มีการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ
 สรุป
การบูรณาการข้อมูล (integration of data) ระหว่างข้อมูลประวัติกับข้อมูลใหม่ ณ ปัจจุบัน นับเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของระบบ Business Intelligence (BI) ขั้นสูง เนื่องจากมีธุรกิจจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ นำผลลัพธ์จากระบบดังกล่าวไปใช้ประกอบการตัดสินใจกำหนดทิศทางธุรกิจและการตลาด ทั้งนี้ ธุรกิจที่เริ่มใช้แนวคิดนี้แล้วในปัจจุบันจะเป็นองค์กรที่ได้ประโยชน์สูงสุดก่อนใคร ก่อนที่มันจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในอนาคตอันใกล้นี้

 ข้อมูลจาก http://202.143.156.4/edplaza/index.php?



ระบบ EIS หรือ Executive Information System


ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) 
     ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
คุณสมบัติของระบบ EIS
     - มีการใช้งานบ่อย
     - ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
     - ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
     - การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
     - การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
     - ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
     - การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
     - ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ข้อดีของระบบ EIS
     1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
     2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
     3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
     4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
     5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
     6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อด้อยของระบบ EIS
     1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
     2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
     3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
     4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
     5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
     6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
     7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล

ตัวอย่างโปรแกรม ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems)
Product Overview

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems)
เป็นระบบสารสนเทศ ที่สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับสูง เพื่อสนับสนุนสารสนเทศและ การตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ เชื่อมโยง นำเสนอ และรวบรวมรายงานจากระบบต่างๆ 
ที่มีอยู่ โดยทำการเข้าถึงสารสนเทศและรายงานต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว
- ข้อมูลเบื้องต้น
- ระบบจัดการโครงสร้างระบบ
- ระบบจัดการและแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานระบบ
- ระบบสร้างรายงาน
- ระบบเชื่อมโยงและแสดงผล รายงานจากระบบอื่นๆ
- แสดงผลรายงานข้อมูลในรูปแบบกราฟแท่ง กราฟวงกลม และกราฟิกกราฟต่างๆ

Application Screenshots





System Requirements
Operating System
- Microsoft Windows Server (IIS6.0+)
- UNIX (Apache)
Database
- Microsoft SQL Server
- MySql
- Oracle
Processor Required
2 GHz or faster 32-bit (x86) or 64-bit (x64) processor
Hard disk
120 GB available disk space (32-bit) / 120 GB (64-bit); for the download version, an additional 3 GB is required
Memory Required
2 GB RAM (32-bit) / 4 GB RAM (64-bit)

 ข้อมูลจาก http://thitikorn2009.exteen.com/20090814/eis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น